จังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางด้านตะวันตก ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 องศา 45 ลิปดา 10 ฟิลิปดา เส้นแวงที่ 100 องศา 4 ลิปดา 28 ฟิลิปดา มีพื้นที่ 2,168.327 ตารางกิโลเมตรหรือ 1,355,204 ไร่ เท่ากับ ร้อยละ 0.42 ของประเทศ และมีพื้นที่เป็นอันดับที่ 62 ของประเทศ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปตามเส้นทางถนนเพชรเกษม 56 กิโลเมตร หรือตามเส้นทางถนนบรมราชชนนี (ถนนปิ่นเกล้า –นครชัยศรี) 51 กิโลเมตร และตามเส้นทางรถไฟ 62 กิโลเมตร
โดยมีอาณาเขต ติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดสุพรรณบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนนทบุรี,และกรุงเทพฯ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี, กาณจนบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสมุทรสาคร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดนนทบุรี,และกรุงเทพฯ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดราชบุรี, กาณจนบุรี
การคมนาคม และขนส่ง
จังหวัดนครปฐม มีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด ใช้เดินทางติดต่อภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนกรุงเทพมหานครได้โดยสะดวก มีเส้นทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพมหานครผ่านจังหวัดนครปฐม ไปสู่ภาคใต้และภาคตะวันตก และยังมีการคมนาคมขนส่งทาง น้ำ โดยอาศัยแม่น้ำท่าจีนและลำคลองต่าง ๆ นอกจากนี้ จังหวัดนครปฐมยังมีสนามบินของโรงเรียน การบินฐานบินกำแพงแสน ซึ่งเป็นสนามบินในราชการกองบินกองทัพอากาศ ตั้งอยู่ที่อำเภอ กำแพงแสนอีกด้วย ในปีงบประมาณ 2546 จังหวัดนครปฐม มีการขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น6,739,889ชิ้น มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 13 แห่ง กระจายอยู่ในทุกอำเภอ ทางด้านโทรศัพท์ เมื่อปีงบประมาณ 2546 มีชุมสายโทรศัพท์ 19 แห่ง รวม 48,778 เลขหมาย
จังหวัดนครปฐม มีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด ใช้เดินทางติดต่อภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนกรุงเทพมหานครได้โดยสะดวก มีเส้นทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพมหานครผ่านจังหวัดนครปฐม ไปสู่ภาคใต้และภาคตะวันตก และยังมีการคมนาคมขนส่งทาง น้ำ โดยอาศัยแม่น้ำท่าจีนและลำคลองต่าง ๆ นอกจากนี้ จังหวัดนครปฐมยังมีสนามบินของโรงเรียน การบินฐานบินกำแพงแสน ซึ่งเป็นสนามบินในราชการกองบินกองทัพอากาศ ตั้งอยู่ที่อำเภอ กำแพงแสนอีกด้วย ในปีงบประมาณ 2546 จังหวัดนครปฐม มีการขนส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ รวมทั้งสิ้น6,739,889ชิ้น มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 13 แห่ง กระจายอยู่ในทุกอำเภอ ทางด้านโทรศัพท์ เมื่อปีงบประมาณ 2546 มีชุมสายโทรศัพท์ 19 แห่ง รวม 48,778 เลขหมาย
สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐม โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบ ถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 2 – 10 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปลาดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และตะวันตกสู่ตะวันออกมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ดอนส่วนพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ดอนกระจายเป็นแห่ง ๆ และมีแหล่งน้ำกระจาย สำหรับพื้นที่ด้านตะวันออก และด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน มีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้นเพื่อการเกษตรและคมนาคมอยู่มาก พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 4 เมตร
สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครปฐม โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบ ถึงค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีภูเขาและป่าไม้ ระดับความแตกต่างของความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 2 – 10 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปลาดจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ และตะวันตกสู่ตะวันออกมีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ พื้นที่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นที่ดอนส่วนพื้นที่ทางตอนกลางของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่ม มีที่ดอนกระจายเป็นแห่ง ๆ และมีแหล่งน้ำกระจาย สำหรับพื้นที่ด้านตะวันออก และด้านใต้เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน มีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้นเพื่อการเกษตรและคมนาคมอยู่มาก พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 2 – 4 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิอากาศแบ่งเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ -พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - สิงหาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 721.9 มิลลิเมตร ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน -กุมภาพันธ์ อากาศจะเย็นสบายและมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิเฉลี่ย 27.9 อวศาเซลเซียส
ทรัพยากรและแหล่งน้ำ
พื้นที่ส่วนใหญ่มีความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา ทำไร่และทำสวน แต่ก็มีบางส่วนของจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นดินเปรี้ยว ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ ผลเท่าที่ควร มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน นอกจากนั้นยังมีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก และขนส่งผลิตผลทางด้านการเกษตรกรรม จากแหล่งผลิตไปสู่ตลาด อีกเป็น จำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพในทางเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวนผลไม้และการเลี้ยงสัตว์ แต่อย่างไรก็ตาม ความเจริญทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมและการขยายตัวของเขตเมือง ได้ทำให้บริเวณพื้นที่ที่ใช้เพื่อการเกษตรลดลงเรื่อย ๆจากสถิติของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2546 จังหวัดนครปฐม มีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี รวมทั้งสิ้น101,015ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per capita GPP) 112,796 บาท สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่าการผลิตสูงสุดถึง57,923 ล้านบาทของการผลิตรวมทั้งจังหวัด รองลงมา ได้แก่ สาขาการค้าส่ง และการค้าปลีกและสาขาการบริการ มีมูลค่าการผลิต คิดเป็น11,211ล้านบาท และจังหวัดนครปฐม มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 1,874 แห่ง เงินลงทุน จำนวน 40,081.305 ล้านบาท จำนวนคนทำงานทั้งสิ้น ๙0,๔๖๖ คน และมีสถานประกอบการธุรกิจ ที่จด ทะเบียนพาณิชย์กิจ จำนวน 15,743 ราย
พื้นที่ส่วนใหญ่มีความชุ่มชื้น อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนา ทำไร่และทำสวน แต่ก็มีบางส่วนของจังหวัดที่มีพื้นที่เป็นดินเปรี้ยว ทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ ผลเท่าที่ควร มีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน นอกจากนั้นยังมีคลองธรรมชาติและคลองซอยที่ขุดขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูก และขนส่งผลิตผลทางด้านการเกษตรกรรม จากแหล่งผลิตไปสู่ตลาด อีกเป็น จำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพในทางเกษตรกรรม ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวนผลไม้และการเลี้ยงสัตว์ แต่อย่างไรก็ตาม ความเจริญทางด้านธุรกิจ อุตสาหกรรมและการขยายตัวของเขตเมือง ได้ทำให้บริเวณพื้นที่ที่ใช้เพื่อการเกษตรลดลงเรื่อย ๆจากสถิติของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2546 จังหวัดนครปฐม มีมูลค่ารวมผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) ตามราคาประจำปี รวมทั้งสิ้น101,015ล้านบาท มูลค่าผลิตภัณฑ์เฉลี่ยต่อหัว (Per capita GPP) 112,796 บาท สาขาอุตสาหกรรม มีมูลค่าการผลิตสูงสุดถึง57,923 ล้านบาทของการผลิตรวมทั้งจังหวัด รองลงมา ได้แก่ สาขาการค้าส่ง และการค้าปลีกและสาขาการบริการ มีมูลค่าการผลิต คิดเป็น11,211ล้านบาท และจังหวัดนครปฐม มีสถานประกอบการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 1,874 แห่ง เงินลงทุน จำนวน 40,081.305 ล้านบาท จำนวนคนทำงานทั้งสิ้น ๙0,๔๖๖ คน และมีสถานประกอบการธุรกิจ ที่จด ทะเบียนพาณิชย์กิจ จำนวน 15,743 ราย